24 มีนาคม 2565

สายพานลำเลียงและ รถ agv

 

สายพานลำเลียงและ รถ AGV

ระบบสายพานลำเลียงคืออะไร?


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ ซึ่งระบบสายพานลำเลียงนั้นจะทำหน้าที่ในการย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยโรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตส่วนมากจะต้องอาศัยระบบสายพานลำเลียงในขั้นตอนกระบวนการผลิต


ระบบสายพานลำเลียงมีกี่ประเภท

หากกล่าวถึงระบบสายพานลำเลียงจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก เป็นระบบสายพานลำเลียงชิ้นงานในแนวลาดเอียงสำหรับไลน์การผลิตที่มีความต่างระดับ ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกนี้ คือ สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งความลาดเอียงจะเริ่มที่ 10 องศา และไม่เกิน 45 องศา สำหรับสายพานลำเลียงแบบพลาสติกเหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์ ยาง เป็นต้น


2.ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ เป็นสายพานลำเลียงที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง และลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น


3.ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับชิ้นงานน้ำหนักเบา ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพีวีซี คือ สามารถทนความร้อนและมีราคาถูก เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด


4.ระบบสายพานลำเลียงสำหรับเครื่องตรวจโลหะ เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ลำเลียงวัสดุเข้าเครื่องตรวจโลหะ โดยมีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก และสายพานลำเลียงแบบ PVC
สายพาน Chip Conveyor เป็นอุปกรณ์ลำเลียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ลำเลียงวัสดุเศษชิ้นงาน เช่น เศษโลหะจากงานเจาะ งานตัด งานเจียร เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และนิยมใช้มากในเครื่องจักร ระบบ cnc เนื่องจากราคาไม่แพง และสามารถออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานตามต้องการได้


AGV คือ อะไร ?

Automated guided vehicle systems (AGV) หมายถึง อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial Truck แตกต่างที่ AGV ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม

การติดตั้งเส้นทางซึ่งอาจมีการฝังสายไว้ใต้พื้นตามเส้นทาง และตัวรถ AGV เอง การควบคุมอุปกรณ์ประเภท AGV สามารถควบคุมได้หลายๆ คันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเพียงชุดเดียว และ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันเอง หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจร หากอีกคันยังอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

ตัวอย่างการใช้งาน Automated Guided Vehicles


รถลำเลียงสินค้าอัติโนมัติมีหลายประเภทดังนี้







รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียนไฟฟ้าห้อง A

 

รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน

ลำดับที่                                    รายชื่อ                                                                ชื่อเล่น                                               

000                              อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค                                                  อาจารย์ปาล์ม      

001                              นาย สุรพิชญ์ ศรีสุวรรณ                                                    ชาย

002                             นาย สันหวัช เพร็ชรสวัสดิ์                                                 โจ

004                       นาย อาดีนัน โสธามาต                                                      ดีนจอ

005                             นาย นัฐกิตย์ อ่อนยัง                                                          ปิน 

006                             นาย ปฏิพัทธ์ หนูน้อย                                                        อิ้งค์

007                             นาย บัสซัมร์ เตะมัน                                                           บัสซัม

008                             นาย ศุภกฤต อุทัยพันธ์                                                       อาร์ม

009                             นาย ณัฐพงศ์ ทองพิมพ์                                                      แบงค์

010                             นาย ณัฐวัฒน์ บุญรัตน์                                                        ยอด

012                       นาย ณัฐวัฒน์ ดำโอ                                                           เฟรม

013                             นาย ศิวานนท์ ชมภูแก้ว                                                       ก้าน

014                       นาย เจตุพล เถี่ยวสังข์                                                เชน

015                             นาย สุภัทร เเก้วมี                                                                ก้อง

016                             นาย ภานุ สุขสวัสดิ์                                                              บิ๊ก

017                       นาย ปิยวัฒน์ เอียดมาอ่อน                                                    วิม

018                       นาย รอมฎอน เบ็ญโกบ                                                        ฎอน

019                             นาย เจตนิพัทธ์ บัวทอง                                                        เบียร์

020                             นาย ทัชมา นิยมเดชา                                                           ยุท

021                             นาย กฤษณะ ทองประศรี                                                       ออมสิน

022                       นาย กิตติศักดิ์ ละแม                                                   ริฟ

023                             นาย กูซาฟีอี สุหลง                                                               อี

024                             นาย ขจรศักดิ์ หวังเกตุ                                                           เขตต์

025                       นาย คมกฤษ กสิกรรมไพบูลย์                                                 จง

026                             นาย คมศักดิ์ เอียดแก้ว                                                           สิงห์

027                             นาย ฆอซาลี โต๊ะหีม                                                               ลี

028                             นาย ชัยวัฒน์ พันธ์ฤทธิ์ดำ                                                       ปอ

029                       นาย ชาญชัย ดวงจักร์                                                             บาส

030                       นาย ซอฟารีย์ เหร็มเหระ                                                          รี

031                             นาย ซับรี อาแว                                                                      บรี

032                             นาย ฐิติศักดิ์ พิทักษ์                                                                เชน

033                             นาย ณรงค์ฤทธิ์ นวลบุญ                                                          พุฒ

034                             นาย ณรงค์ศักดิ์ แกล้วทนงค์                                                     แบ็ท

035                       นายณัชพล แก้วถาวร                                                               แม็ก

036                             นาย ณัฐพล ช่วยดี                                                                   ชิ

037                       นาย ทัตเทพ ชนิลธรชัย                                                           เลย์

038                       นาย ธีรวุฒิ ขุนเจริญ                                                                  อั้ั๋น

039                             นาย ธีระพงศ์ รักษ์จันทร์                                                           เอฟ

040                             นาย นราวิชญ์ ช้างประเสริฐ                                                       โดม

041                             นาย นัฐพล ชะนะชัย                                                                 อั้ม

042                       นาย ณัฐพล ราชแก้ว                                                                 พี                                     

043                             นาย นาวี เทพลักษณ์                                                                 วี

044                             นาย ปรินทร หวัดเพชร                                                               บอล

14 มีนาคม 2565

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 

♻ หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม 📰

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

‘Cobot’ หุ่นยนต์โรงงานอุตสาหกรรมที่มาแทนที่มนุษย์?

‘Cobot’ หุ่นยนต์ผู้ช่วยของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรม


เมื่อปี ค.ศ.1961 ได้ก่อกำเนิดหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนายจอร์จ ดีวอล (George Devol) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เพื่อให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ในโรงงานประกอบรถยนต์ แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดไปได้ไกลมากขึ้น มนุษย์ได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นเพื่อนร่วมงานของมนุษย์ นั่นก็คือ ‘Cobot’ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาดและมีประสิทธิภาพ 



Cobot คืออะไร

โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์


Cobot มาเพื่อแทนที่ของมนุษย์?

ปัจจุบันนี้ หุ่นยนต์โคบอทยังไม่มีความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์และยังไม่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ โคบอทจึงไม่สามารถมาแทนที่ของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ โคบอทจึงเป็นเพื่อนร่วมงานตัวหนึ่งซึ่งช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างๆที่ต้องใช้ความละเอียดและต้องการกำลังการผลิตสูง เปรียบเสมือนมือขวาขอมนุษย์ซึ่งทำงานเชื่อมและประกอบชิ้นส่วนต่างๆที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ 


หุ่นยนต์โคบอททำอะไรได้บ้าง

โดยปัจจุบันนี้มีหุ่นยนต์โคบอทตัวหนึ่งซึ่งเป็นแขนกลที่ทำหน้าที่เชื่อมและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือโคบอทรุ่น UR3 ที่สร้างและพัฒนาโดยบริษัท Universal Robots โดยหุ่นยนต์โคบอทรุ่นนี้มีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย ทำงานเชื่อมและประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตรวจจับและวัดขนาดได้แม่นยำกว่ามนุษย์ และหุ่นนบนต์โคบอทรุ่น UR5 ที่ทำงานจับวางและทดสอบชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้เร็วกกว่ามนุษย์ถึง 18 เท่าต่อครั้ง


2.  หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่วมกันและแทนที่หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมที่ยุ่งยากและไม่ยืดหยุ่น

การใช้หุ่นยนต์ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถเร่งการผลิต ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ และป้องกันคนงานจากอันตราย หุ่นยนต์ทำงานร่วม (หรือ 'โคบอท') ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ รวมถึงความสามารถในการปรับใช้โคบอทในการทำงานที่ใกล้ชิดกับมนุษย์โดยไม่ต้องมีรั้วกั้น โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปลดปล่อยคนงานจากงานที่น่าเบื่อ สกปรก และอันตรายได้ นอกจากนี้ โคบอทยังพร้อมทำงานทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ไม่เว้นวันหยุด 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมถูกใช้งานที่ไหน?

มีอุตสาหกรรมน้อยมากที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ระบบอัตโนมัติ นับตั้งแต่ที่ GM ได้ใช้หุ่นยนต์ผลิตยานยนต์ตัวแรกในสายการผลิต โรงงานและคลังสินค้าอื่น ๆ นับไม่ถ้วนก็ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมเหล่านี้รวมถึงภาคเภสัชกรรม, การผลิตทั่วไป, การแพทย์และการเกษตร โคบอทของ Universal Robots เป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่สามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวคือ น้ำหนักบรรทุก, ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และจินตนาการของคุณ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทำงานอะไร?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิตสามารถทำงานได้หลากหลาย ตั้งแต่การขนถ่ายวัสดุ, การหยิบและวาง,การตรวจสอบ, การประกอบ, การบรรจุ, การจัดเรียงพาเลท, ไปจนถึงการตกแต่งชิ้นส่วน หุ่นยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานซ้ำ ๆ และบรรเทาแรงงานมนุษย์จากงานที่ต้องใช้กำลังมาก หุ่นยนต์สามารถติดตั้งแมชชีนวิชั่นและระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบแบบเรียลไทม์

โคบอทในสายการผลิตยานยนต์

ปัญหาบางประการที่สายการประกอบยานยนต์ต้องเผชิญ ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ได้แก่ โอกาสที่คนงานจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เวลาในการผลิตช้า และปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติ

ตัวอย่างเช่น Continental ในประเทศสเปน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้โคบอท UR10 เพื่อดำเนินการจัดการและตรวจสอบบอร์ด PCB และส่วนประกอบในระหว่างกระบวนการผลิต


โคบอท UR10 ช่วยให้โรงงานผลิตในโรมาเนียของฟอร์ดสามารถส่งมอบงานที่เร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยพนักงานจากการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ

แขนกลจัดการกับงานทางกายภาพเกือบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถยนต์ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสมากมายที่หุ่นยนต์จะช่วยในงานที่ต้องใช้การตัดสินใจ เช่น การตรวจสอบคุณภาพว่าผ่าน/ไม่ผ่าน เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพดีพอ

6 ประเภทการทำงานหลักของโคบอทในภาคการผลิตยานยนต์มีอะไรบ้าง?

เรามาดูตัวอย่างบางส่วนของโคบอทในการผลิตยานยนต์กัน การทำงานหกประเภทหลัก ได้แก่ การประกอบ, การลงสี, การเชื่อม, การหยิบจับชิ้นงานเข้าเครื่องจักร, การกำจัดเศษวัสดุและการขัดเงา, และการตรวจสอบคุณภาพ ก่อนจะมีแขนหุ่นยนต์ ผู้ผลิตต้องใช้หุ่นยนต์ตัวอื่นเพื่อทำงานแต่ละอย่างเหล่านี้ ทุกวันนี้ แขนหุ่นยนต์โคบอทเพียงตัวเดียวจาก Universal Robots สามารถทำงานเหล่านี้ทั้งหมดได้ง่าย ๆ เพียงติดตั้งอุปกรณ์ปลายแขนที่เหมาะสมจากแพลตฟอร์ม UR+

การประกอบ

โคบอทมีบทบาทสำคัญในโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่ง นั่นรวมไปถึงการประกอบชิ้นส่วน หุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถจัดการกับงานที่ซ้ำซากจำเจในสายการผลิตได้ เช่น การติดที่จับประตูและที่ปัดน้ำฝน ซึ่งช่วยให้พนักงานที่เป็นมนุษย์มีอิสระในการทำงานที่มีมูลค่ามากกว่า โคบอทที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงกว่า เช่น UR16e (น้ำหนักบรรทุก 16 กก./35.3 ปอนด์) สามารถจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เช่น ล้อ ฝากระโปรงรถและฝากระโปรงหน้าเครื่องยนต์

Lear Corporation ใช้โคบอท UR5 ที่มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบาเพื่อช่วยในการประกอบเบาะรถยนต์ โคบอท UR5 มีขนาดเล็ก (Ø 149 มม.) ทำให้สามารถทำงานได้ในพื้นที่แคบ เช่น การช่วยประกอบเบาะรถยนต์และที่พักแขน ที่ Lear โคบอท UR5 สามารถขันสกรูได้ 8,500 ครั้งต่อวัน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเวลาในสายการผลิต Lear ใช้งานโคบอท UR ตัวแรกในปี 2017 – วันนี้บริษัทมีหุ่นยนต์ UR 38 ตัวในโรงงานผลิตที่จีน ซึ่งใช้สำหรับการขันสกรูเบาะรถยนต์ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การหยิบและวาง และกระบวนการที่สำคัญอื่น ๆ

การลงสี

หุ่นยนต์พ่นสีได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการผลิตรถยนต์ หุ่นยนต์สามารถพ่นสีได้สม่ำเสมอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดเทียบได้ นอกจากนี้ สีรถยนต์ยังเป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อคนงานที่เป็นมนุษย์ งานต่าง ๆ เช่น การลงสีได้อย่างสม่ำเสมอบนพื้นผิวขนาดใหญ่นั้นควรใช้แขนหุ่นยนต์จัดการดีที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ความแม่นยำและประสิทธิภาพที่หุ่นยนต์มอบให้ในงานพ่นสี จะช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการสิ้นเปลืองสีน้อยลงและขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์

หุ่นยนต์กับงานเชื่อม

งานเชื่อมเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโคบอท เพราะเป็นอีกหนึ่งงานที่อันตรายและใช้เวลานาน โคบอทสามารถจัดการกับอาร์ค, TIG, เลเซอร์, MIG, อัลตราโซนิก, พลาสม่า และการเชื่อมเฉพาะจุด รวมถึงการประสานและบัดกรี แพลตฟอร์ม UR+ มีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นใช้งานการเชื่อมยานยนต์ของคุณ ตัวอย่างเช่น ระบบการเชื่อม Olympus ของ UR เป็นโซลูชันการเชื่อมราคาประหยัดที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดเล็ก


การตั้งโปรแกรมงานเชื่อมของโคบอททำได้ง่ายโดยใช้ซอฟต์แวร์ URCap ของ UR

การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักร

การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักรเป็นหนึ่งในงานที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์ทำงานร่วม เพราะเป็นงานที่น่าเบื่อ มักจะสกปรก และบางครั้งก็อันตราย ไม่น่าแปลกใจเลยที่การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักรได้กลายเป็นหนึ่งในการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับโคบอทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา


UR10 ที่ติดตั้งบนเพดานช่วยมนุษย์ในงานประกอบและหยิบชิ้นส่วนเข้าเครื่องจักรที่ Bajaj Auto ในอินเดีย

ตั้งแต่นั้นมา Bajaj Auto ได้ติดตั้งโคบอท 100 ตัวในโรงงานผลิตเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่เป็นมนุษย์ในการหยิบชิ้นส่วนเข้าเครื่องจักรและงานประกอบ บริษัทพยายามที่จะปรับปรุงมาตรฐานของรถสองล้อและเพิ่มความเร็วในการผลิต

หุ่นยนต์กับการกำจัดเศษวัสดุและขัดเงา

การกำจัดเศษวัสดุและการขัดชิ้นส่วนเป็นกระบวนการที่สำคัญในการผลิตรถยนต์ กระบวนการเหล่านี้รวมถึงการทำความสะอาดชิ้นส่วนยานยนต์ตลอดทางด้วยการตัดแต่งโลหะหรือขัดแม่พิมพ์เพื่อให้ผิวเรียบ เช่นเดียวกับงานที่หลายอย่างในการผลิตรถยนต์ งานเหล่านี้ซ้ำซากและบางครั้งก็อันตราย ซึ่งสร้างโอกาสในการทำงานให้กับหุ่นยนต์ ในงานกำจัดเศษวัสดุรวมถึงการเจียร ลบคม กัด ขัด กำหนดเส้นทางงาน และเจาะ

ตัวอย่างเช่น ชุดตกแต่งของ Robotiq เป็นแพ็คเกจฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มอบทุกสิ่งที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้ ในการเริ่มต้นงานตกแต่งพื้นผิว การขัด และการตกแต่งเครื่องมือภายนอก ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยซอฟต์แวร์ Finishing Copilot ของ Robotiq ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถตั้งโปรแกรมการตกแต่งที่ใช้งานง่าย โดยผู้ใช้ปลายทางไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ UR ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทำงานได้อย่างยืดหยุ่นร่วมกับพนักงานที่เป็นมนุษย์ ทำให้หุ่นยนต์เหล่านี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับเซลล์การทำงานและโรงงานผลิตที่ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ และพื้นที่มีราคาแพง

การตรวจสอบคุณภาพ

กระบวนการตรวจสอบคุณภาพสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างการผลิตที่ประสบความสำเร็จกับความล้มเหลวที่มีราคาแพงและใช้แรงงานเยอะ อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ UR+ นำเสนอฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่หลากหลายซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้คุณทำงานตรวจสอบคุณภาพยานยนต์ได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการตรวจสอบเพื่อความสวยงามและการวัด

3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


ในงาน Open House เปิดบ้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัว ‘หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง รุ่น DYNA-T’ ที่คิดค้นและพัฒนาด้วยฝีมือของอาจารย์และนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.มานพ คงคานิธิ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการพัฒนา และเป็นโปรเจ็กต์สำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกรมสรรพาวุธทหารบก


รศ.ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มพจ. กล่าวถึงความเป็นมาของหุ่นยนต์ดังกล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. มีการพัฒนานวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์แบบแขนกลมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เห็นได้จากงานอินโนเวชั่นโชว์เคสต่างๆ รวมถึงกิจกรรมของนักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน ก็คือการร่วมแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก World Robocup Rescue ซึ่งคว้าแชมป์มาได้หลายครั้ง และจากที่ได้มีโอกาสทำงานทางด้านพัฒนานวัตกรรมเพื่อความมั่นคงกับหน่วยงานภาครัฐ เมื่อประสานกับองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อมาทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศ

ทั้งนี้ การเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่องก่อการร้ายถือเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงสูง จึงมีการออกแบบหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลพร้อมกับพัฒนาระบบปืนยิงน้ำแรงดันสูงหรือวอเตอร์แคนนอนซึ่งมีพลังทำลายล้างสูง ไร้แรงสะท้อนกลับ ใช้งานได้เทียบเท่าหรือดีกว่าของต่างประเทศในขณะที่ราคาถูกกว่าเกือบสิบเท่า


4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

Boston Dynamics กับความเป็นมนุษย์ที่อาจจะถูกวัดในอนาคต


นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์พยายามเข้ามามีบทบาทและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งตัวระบบการประมวลผล และฟังก์ชันการทำงาน เรียกได้ว่าเตรียมขึ้นเป็นแรงงานที่มีศักยภาพได้เทียบเท่ามนุษย์ เช่น การคำนวณเชิงตรรกะ การเลียนแบบพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ อย่างการเดิน วิ่ง ล้มแล้วลุกด้วยตัวเอง ยกของ เป็นต้น ซึ่งฟังก์ชันพฤติกรรมที่เหมือนมนุษย์เหล่านั้นจะถูกประยุกต์ให้ทดแทนการทำงานของมนุษย์อย่างการขนของ หรือการกู้ภัยในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับมนุษย์เองและเสริมสร้างเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์ที่มีฟังก์ชันที่กล่าวถูกพัฒนาขึ้นแล้วโดยบริษัท Boston Dynamics ผู้เชียวชาญด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะอย่าง A.I. เพื่อช่วยในการก้าวข้ามขีดจำกัดการทำงานในอดีตให้สูงขึ้น


ชื่อของ Boston Dynamics ถูกพูดถึงกันอย่างหนาหูในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากคลิปวิดีโอผลงานที่ทางบริษัทได้ปล่อยออกมาเอง ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษย์ Atlas ที่โชว์ความสามารถในการวิ่ง กระโดดและตีลังกาหลังได้ ซึ่งทำได้ออกมาเกือบจะเป็นธรรมชาติอย่างมาก หรือหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายสุนัข Spot ที่สร้างความตื่นเต้นคนที่พบเห็นกับความสามารถในการเปิดประตู ปอกเปลือกกล้วย ช่วยขนของ และสำรวจพื้นที่ คาดว่าในอนาคต เจ้าหุ่นยนต์เหล่านี้จะกลายเป็นผู้ช่วยของมนุษย์ได้อย่างดีเยียมในโลกของอุตสาหกรรมแรงงาน

สิ่งที่เราจะมาชวนคุย ไม่ใช่เรื่องความน่ายินที่ Boston Dynamics เป็นคนทำ กลับเป็นอนาคตที่กำลังจะตามมากับการใช้ชีวิตของมนุษย์ร่วมกันกับหุ่นยนต์ว่ากำลังจะดำเนินไปในทิศทางไหน ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อเราผนวกเอาอารยธรรม และองค์ความรู้ทุกอย่างลงไปในสมองกลและติดตั้งให้กับหุ่นยนต์เหล่านี้ เพื่อหวังจะให้มาคอยช่วยเหลือมนุษย์ หรืออาจจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามแทนกันแน่ แต่ก่อนหน้าที่เราจะพูดถึงเรื่องนั้น เรามาทำความรู้จักบริษัทนี้กันพอสังเขปกันก่อนดีกว่า ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีการพัฒนาอะไรมาบ้างก่อนจะมาถึงปัจจุบัน

ทำความรู้จักกับ Boston Dynamics 


Boston Dynamics บริษัทสัญชาติอเมริกัน ที่งานหลักคือการวิจัย ออกแบบ และพัฒนาหุ่นยนต์ ก่อตั้งเมื่อปี 1992 ที่เกิดจากการวิจัยเล็ก ๆ ที่สถาบันเทคโนโลยี MIT และภายหลังแยกตัวออกมาเป็นบริษัท ปัจจุบันเป็นหนึ่งในบริษัทลูกของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง SoftBank 

เราลองมาดูผลงานตัวอย่างของบริษัท Boston Dynamics โดยผู้เขียนจะยกมาบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงผลงานแต่ละอย่างก่อนจะมาเป็น Atlas และ Spot ที่เราเห็นในปัจจุบัน 

Atlas

มาถึงตัวเอกของงานอย่าง Atlas หุ่นยนย์รูปร่างมนุษย์ที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดจากทุกผลงานของ Boston ที่ไม่เพียงแต่เดิน กระโดด ปีน หรือใช้มือในการบีบจับ แต่ยังสามารถแสดงพฤติกรรมที่คล้ายกับอารมณ์โกรธแบบเดียวกับมนุษย์ออกมาได้อีกด้วย ซึ่งในอนาคตจะถูกใช้เป็นหุ่นยนต์ด้านกู้ภัยและค้นหาคนหาย


🏥 ข้อมูลและวีดีโอที่น่าสนใจของหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
Xiaoyi หุ่นยนต์ตัวแรกที่สอบผ่านใบอนุญาตทางการแพทย์


Xiaoyi (เสี่ยวยี่) เป็น AI ตัวแรกที่สอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ของจีน สามารถทำคะแนนสอบได้ 456 คะแนน จากคะแนนเต็ม 600 คะแนน สูงกว่าเกณฑ์ผ่านถึง 96 คะแนน


หนึ่งในทีมผู้คิดค้นระบุว่า Xiaoyi สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่ามนุษย์ ทั้งตำราเรียนแพทย์หลายสิบเล่ม เวชระเบียนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยกว่า 2 ล้านชิ้น และบทความเกี่ยวกับการทดสอบการเป็นแพทย์กว่า 400,000 บทความ ประกอบกับการเป็นปัญญาประดิษฐ์ ทำให้ Xiaoyi สามารถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง

Xiaoyi ถูกพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยชิงหวาในกรุงปักกิ่ง และบริษัท iFlytek บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เช่น การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย และให้คำแนะนำแพทย์เพื่อช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น


สายพานลำเลียงและ รถ agv

  สายพานลำเลียงและ รถ AGV ระบบสายพานลำเลียงคืออะไร ? ระบบสายพานลำเลียง ( Belt Conveyor System)  คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนปร...